วิกฤตการเงิน‘อาคม’ชูลงทุนพื้นฐาน ดันเศรษฐกิจไทยโต5ล้านล.

วิกฤตการเงิน วิกฤตการเงินโลก วิกฤตการเงินลาว  วิกฤตการเงิน 2008   วิกฤตเศรษฐกิจ คือ  วิกฤตทางการเงิน คือ  วิกฤตเศรษฐกิจไทย  วิกฤตเศรษฐกิจ 2015  วิกฤตเศรษฐกิจแฮมเบอร์เกอร์

 

 

วิกฤตการเงิน หมายเหตุ – เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน ที่อาคารเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานกล่าวปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ“Enhancing Economic Performance for Thailand Competitiveness : วิกฤตการเงินโลก ฟื้นเศรษฐกิจไทยเพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขัน” ภายในงานสัมมนาหอการค้าทั่วประเทศครั้งที่ 40สํ าหรับเศรษฐกิจในปีนี้ ภาคเอกชนคาดการณ์ว่าตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (จีดีพี) ปี 2566 จะอยู่ที่ 3.5-4% และภาคการส่งออก อยู่ที่ 3-5% มีความเป็นไปได้ และขอให้มีความเชื่อมั่นในการช่วยกันขับเคลื่อนต่อไป ในส่วนของเศรษฐกิจไทยไม่ได้ประสบภาวะวิกฤตครั้งนี้แต่เพียงครั้งเดียว แต่ผ่านพ้นวิกฤตมาหลายครั้งแล้ว ครั้งนี้มีสาเหตุที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็น ปี 2540 เผชิญกับวิกฤตการเงิน ปี 2551-2552 วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ ไครซิส ปี 2554 เกิดวิกฤตจากเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ และในปี 2563 จนถึงปัจจุบัน ทั่วโลกรวมถึงไทยได้เผชิญกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในวิกฤตแต่ละครั้งเราใช้เวลาฟื้นเศรษฐกิจอยู่ที่ 2 ปี ปีที่ 3 ก็จะเริ่มฟื้น แต่วิกฤตในปัจจุบันค่อนข้างฟื้นเศรษฐกิจยากสักนิดหนึ่ง เพราะวิกฤตแผ่กระจายไปทั่วประเทศและต้องการความร่วมมือจากพี่น้องประชาชนเป็นอย่างมาก

วิกฤตการเงิน

วิกฤตการเงินโลก

โดยเฉพาะเรื่องของการใช้ทรัพยากรคนในการแก้ปัญหาในเรื่องของโควิด แม้ในปัจจุบันรัฐบาลผ่อนคลายไปหมดแล้ว วิกฤตการเงินลาว แต่ยังเกิดการติดต่ออยู่เป็นระยะ อาการไม่รุนแรงมาก แต่ในบางประเทศ อย่างจีนยังคงมาตรการซีโร่โควิดอยู่ เชื่อว่าไม่นาน จีนต้องเปิดประเทศแน่ๆ เพราะการปิดประเทศ หรือการล็อกดาวน์ใช้มาตรการเข้มข้นนั้น ในอีกด้านเป็นต้นทุนทางเศรษฐกิจ ซึ่งปี 2564 เราพยายามที่จะสร้างสมดุลระหว่างมาตรการเข้มงวดทางด้านโควิด และมาตรการด้านเศรษฐกิจ ผมได้มีส่วนร่วมในศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) ช่วงแรกได้เสนอให้เปิดประเทศในโซนชายแดนที่มีการค้าขาย หรือการท่องเที่ยวระหว่างประเทศร่วมกันก่อน แต่มาตรการโควิดในช่วงนั้นก็ครอบคลุมไม่สามารถเปิดการค้าชายแดนได้ จึงเสนอไม่ให้ปิดนาน เนื่องจากการค้าระหว่างชายแดนก็เป็นอีกหนึ่งรายได้หลักของจังหวัดนั้นๆ ทางหอการค้าจังหวัดก็ทราบ โดยเฉพาะจังหวัดภาคอีสานตอนกลาง และตอนบน ที่มีพื้นที่ติดกับ สปป.ลาว การเดินทางของประชาชนชาวลาวได้มีการข้ามมาพักผ่อน ทั้งช้อปปิ้ง และใช้บริการโรงพยาบาลในไทย

วิกฤตการเงินลาว

 

ปัจจุบันก็เห็นที่สนามบินอุดรธานีและสนามบินขอนแก่น มีรถทะเบียนลาวมาจอดค่อนข้างเยอะ ก่อนจะต่อเครื่องบิน บินตรงไปที่กรุงเทพฯ ทำธุระ เข้าโรงพยาบาลตรวจเช็กร่างกายต่างๆ จึงให้อยากเริ่มเปิดประเทศจากชายแดน ส่วนคำถามที่ว่าโดยปกติแล้วใช้เวลาแค่ 2 ปี ในการฟื้นเศรษฐกิจ แต่กับสถานการณ์ปัจจุบัน วิกฤตไม่ได้เกิดแค่เฉพาะเรื่องโควิด-19 ยังมีเรื่องของเศรษฐกิจโลก และสงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครน ปัจจัยนี้ส่งผลต่อเรื่องราคาพลังงาน และราคาอาหารที่พุ่งสูงขึ้น สุดท้ายก็ส่งผลไปถึงอัตราเงินเฟ้อ ความจริงผมเคยพูดหลายครั้ง เวลามีคนบอกว่าเศรษฐกิจไทยตามหลังอาเซียน ฟื้นช้า แต่หลายประเทศเศรษฐกิจฟื้นขึ้นแล้วก็ตก ดังนั้น สิ่งที่เราต้องการคือเสถียรภาพของอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ เมื่อดูการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยเทียบปีที่แล้วกับปีนี้ วิกฤตการเงิน 2008  จะเห็นได้ว่ามีอัตราเร่งขึ้นส่วนหนึ่งมาจากการท่องเที่ยว ที่ปี 2565 คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาไทย 10 ล้านคน และในปี 2566 เพิ่มขึ้นเป็น 20 ล้านคน ซึ่งอยู่ภายใต้สมมุติฐานจีนเปิดประเทศ แต่ในอีกด้านหนึ่งจากการวิเคราะห์ของสถาบันการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) หรือธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ประเมินว่าการฟื้นตัวของไทยยังไม่ทั่วถึง และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ นิยามเศรษฐกิจในช่วงนี้ว่า Scar หรือรอยแผลเป็นที่เกิดจากช่วงโควิด แผลเป็นนี้เกิดขึ้นเพราะประชาชนได้รับผลกระทบ คนเปลี่ยนงาน เงินเดือนลดลง คนมีรายได้น้อยลง บางคนกลับบ้านเกิดและไม่กลับเข้ามาทำงาน ซึ่งเป็นแผลเป็นที่เกิดขึ้นทั่วโลกไม่ใช่แค่ไทย เพราะฉะนั้นในอนาคตนั้น จึงเน้นเป็นการพุ่งเป้าไปยังกลุ่มเปราะบางให้ได้มากที่สุด ส่วนภาคธุรกิจจะมีมาตรการต่างๆ ของภาครัฐที่จะเข้าไปช่วย โดยเฉพาะในเรื่องของการฝ่าเรื่องเศรษฐกิจถดถอย เนื่องจากแรงต้านในปี 2566 ค่อนข้างแรง

วิกฤตการเงิน

วิกฤตการเงิน 2008

 

วิกฤตเศรษฐกิจ คือ ดังนั้น ไอเอ็มเอฟ (กองทุนการเงินระหว่างประเทศ) คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจทั่วโลกในปี 2565 จะเติบโตเพียง 3.2% เป็นการปรับลดลงมาจากความเสี่ยงทางเศรษฐกิจของสหรัฐ ส่วนในปี 2566 คาดว่าเศรษฐกิจโลกจะเติบโต 2.7% แสดงว่าอยู่ในช่วงขาลง แต่ในขณะเดียวกัน การประเมินเศรษฐกิจในภาพรวมจากสถาบันของไทย อาทิ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ คาดว่าจีดีพี ปี 2565 อยู่ที่ 3.2% ส่วนปี 2566 คาดว่าจะอยู่ที่ 3-4% ต้องขอบคุณทางหอการค้าฯ ที่มองไปในทิศทางเดียวกัน แสดงให้เห็นว่าเราสวนกระแสโลก ดังนั้น การที่จะรักษาโมเมนตัมของเศรษฐกิจ ต้องมีแรงส่ง ซึ่งแรงส่งที่สำคัญมาจากเศรษฐกิจเพื่อนบ้าน เพราะเป็นตัวที่พยุงเศรษฐกิจในทุกวิกฤต ภาคเกษตร ในส่วนของยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์ ที่มีการใช้เทคโนโลยีต่างๆ ในการเพิ่มรายได้และโอกาสแม้ว่าในปีนี้ เราบอกว่าเศรษฐกิจไม่ดีแต่คาดว่าการส่งออกในปีนี้จะเติบโตอยู่ที่ 8% แต่ก่อนหน้านี้ได้มีการหารือร่วมกับสภาหอการค้าฯ และสภาผู้ส่งออกสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) ให้ช่วยกันดันให้ไปถึง 10% ได้หรือไม่ เร่งสุดๆ แล้ว ก็ได้ 8% แต่อานิสงส์ส่วนหนึ่งมาจากเงินบาทอ่อนค่า เพราะว่าค่าเงินสหรัฐแข็งค่าเร็วกว่าปกติ พอเงินบาทอ่อนค่าก็เกิดคำถามว่าจะแก้ไขปัญหาอย่างไร ส่วนในปี 2563 ก็มีการตั้งคำถามว่า เงินบาทแข็งค่าจะต้องแก้ไขอย่างไร ทำให้หาจุดตรงกลางยาก เรื่องนี้แบงก์ชาติเป็นผู้ดูแล เพราะต้องการเรียกความเชื่อมั่นที่มีผลต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ อีกประการหนึ่งผลของการปรับอัตราดอกเบี้ย จะมีผลต่อต้นทุนทางการเงิน โดยเฉพาะต้นทุนทางการเงินของภาคธุรกิจ สิ่งต่างๆ เหล่านี้จึงเป็นนโยบายทางการเงินที่จะช่วยกันประคับประครองให้เราพ้นจากวิกฤต และฟื้นตัวได้อย่างยั่งยืน

วิกฤตเศรษฐกิจ คือ

วิกฤตทางการเงิน คือ ทั้งนี้ ในส่วนบทบาทของกระทรวงการคลัง หากมีจุดใดที่เป็นอุปสรรคของการส่งออกขอให้บอกก็จะช่วย เรื่องนี้เราได้มีการหารือร่วมกันเป็นประจำทุกเดือน หลายเรื่องได้แก้ไขแล้ว แรงส่งอีกเรื่องที่เราต้องเร่ง คือเรื่องการลงทุน ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน การลงทุนรวมของประเทศในอดีตมีอัตราส่วนคิดเป็น 40% ของจีดีพี แต่ปัจจุบันการลงทุนของประเทศอยู่ที่ 24% ของจีดีพี ค่อนข้างต่ำ ถามว่าเราจะข้ามผ่านเรื่องนี้ไปอย่างไร ต้องย้อนกลับไปดูก่อนว่าปัญหาที่เราเจอในอดีตคือเรื่องของโลจิสติกส์ ที่มีผลมาจากเรื่องราคาน้ำมัน เรื่องของความสะดวกในเรื่องของโครงสร้างพื้นฐาน และมั่นใจว่าโครงการรถไฟไทย-ลาว-จีน ช่วยเรื่องความสะดวกของโครงสร้างพื้นฐานได้แน่นอน เพราะจะทะลุไปถึงเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) และท่าเรือของเราจุดประสงค์ของไทย ในสมัยที่ผมเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม หลักการคือ ทำอย่างไรให้สินค้ารอบประเทศลงมาที่ท่าเรือแหลมฉบังให้ได้มากที่สุด จึงเป็นที่มาของการพัฒนาเศรษฐกิจชายแดน อาทิ การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ โครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะถนนเชื่อมไปถึงชายแดนต้องมีความสะดวกสบาย เรื่องการเดินทางถึงสนามบินแต่ละจังหวัดต้องขยายให้เดินทางภายใน 1 ชั่วโมง บางจังหวัดที่ไม่มีสนามบิน อยากได้สนามบิน แต่ถ้ามองในเรื่องของหลักการ หากมีสนามบินแล้วไม่คุ้มก็ไม่เกิดประโยชน์ ดังนั้น เรื่องระบบโลจิสติกส์จึงเป็นเรื่องหนึ่งของโครงสร้างพื้นฐานที่ต้องเร่งให้เกิด โครงการที่อยู่ในเป้าหมายคาดว่าเป็นมูลค่ากว่า 5 ล้านล้านบาท รวมทุกโครงการทั้งจากพลังงาน คมนาคม สาธารณูปโภค และเรื่องระบบน้ำ แต่ตอนนี้ยังติดปัญหาในเรื่องของการจัดสรรเงินลงทุนที่มีข้อจำกัดเยอะ ที่สำคัญคือเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ อินฟราสตรัคเจอร์ในอนาคตนั้น ต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าเป็นกรีน หรือเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อาทิ การนำเงินงบประมาณที่มีมาลงทุนในโครงการรถไฟฟ้า ถือว่าเป็นโครงการกรีนเอ็นเนอร์ยีการออกพันธบัตรเพื่อความยั่งยืน เมื่อปี 2563 ของกระทรวงการคลัง เพื่อนำมาไฟแนนซิ่งโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม กับนำมาช่วยเหลือเรื่องโควิด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ พ.ร.ก.กู้เงิน 1 ล้านล้านบาท

วิกฤตการเงิน

วิกฤตทางการเงิน คือ

เพราะฉะนั้น ในเรื่องของการลงทุนจะต้องเร่ง เพื่อเป็นกำลังแรงส่ง นอกเหนือจากการบริโภคภายในประเทศ วันนี้อาจไม่ต้องพึ่งโครงการคนละครึ่งแล้ว เพราะหลังจากเปิดประเทศอย่างเป็นทางการแล้ว อัตราการใช้จ่ายในประเทศเริ่มคึกคัก หรือปรับตัวขึ้นมา 3-4% บวกกับมีต่างชาติเข้ามาเที่ยวไทยทำให้มีการใช้จ่ายในประเทศมากขึ้น แต่ยังไม่ทั่วถึง กลุ่มคนตัวเล็กอาจยังได้รับผลกระทบอยู่ ดังนั้น จึงเกิดเป็นมหกรรมร่วมใจแก้หนี้ มีหนี้ต้องแก้ไข เริ่มต้นใหม่อย่างยั่งยืน ซึ่งเราได้ดำเนินงานที่กรุงเทพฯ วิกฤตเศรษฐกิจไทย ขอนแก่น เชียงใหม่ หาดใหญ่ และชลบุรี ประเด็นคือธุรกิจรายเล็กยังมีปัญหาอยู่ เพราะขาดสภาพคล่อง เนื่องจากเมื่อเปิดประเทศลูกค้าหายหมด จึงต้องนำเงินมาปรับปรุงร้าน แต่บางธุรกิจยังติดปัญหาเรื่องไม่มีสินทรัพย์ค้ำประกัน ซึ่งทางกระทรวงอยู่ระหว่างช่วยเหลือเพื่อให้ธุรกิจกลับมามีความยั่งยืนทางด้านการคลังต่อไปอย่างไรก็ดี เรื่องของแหล่งเงินทุนที่จะนำมาผลักดันโครงการลงทุนต่างๆ จะนำมาจากงบประมาณแผ่นดิน เงินกู้ การระดมทุนในตลาด และเงินกู้ในประเทศ อาทิ เงินออม หรือการจัดเก็บรายได้ของภาครัฐ ซึ่งต้องโยงไปถึงประสิทธิภาพในการจัดเก็บรายได้ของภาครัฐ เพื่อนำมาสนับสนุนด้านการลงทุน ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นแรงส่งที่จะช่วยให้เศรษฐกิจไทยเติบโตอย่างมีเสถียรภาพเรื่องที่ต้องจับตาอีกเรื่องคือ แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศของโลก เรื่องความก้าวหน้าของเทคโนโลยี สังคมสูงวัย และอนาคตของงานอาจจะต้องเปลี่ยนไปจากอิทธิพลของเทคโนโลยี และคนรุ่นใหม่ที่ทำอาชีพอิสระของตัวเอง เรื่องนี้จะเกี่ยวข้องกับการอัพสกิลและรีสกิล ตอนนี้หลายที่มีปัญหาการเปลี่ยนงานจากภาคบริการโดยเฉพาะการให้บริการระดับล่างไปทำการเกษตร ทั้งนี้ อยากเน้นในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศปัจุบันทางภาคสถาบันการเงินมีการปรับเปลี่ยนไปหมดแล้วไม่ว่าจะเป็นแบงก์รัฐ หรือเอกชน ทั้งการจัดพอร์ตในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ในเวทีเอเปคก็มีการพูดถึงเรื่องนี้ เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการปล่อยสินเชื่อ

วิกฤตการเงิน

วิกฤตเศรษฐกิจไทย

วิกฤตเศรษฐกิจ 2015 ส่วนสิ่งที่อยากไฮไลต์ คือ เรื่องแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของโลกมี 2 ประเด็นหลักๆ คือการขาดแคลนแรงงานในอนาคตเนื่องจากเริ่มเข้าสู่สังคมสูงวัยมากขึ้น การเตรียมการรับมือของภาครัฐต้องมีการปรับเปลี่ยน นำงบประมาณไปช่วยในเรื่องของโซเชียลเวลแฟร์มากขึ้น เรื่องนี้ยังไม่เกิดขึ้นต้องมีการคุยกันอีกครั้ง แต่หลังจากนี้การแข่งขันลดภาษีเพื่อดึงดูดการลงทุนจากประเทศต่างๆ ต่อไปไม่ได้แล้ว เพราะตอนนี้เริ่มเกิดในเรื่องของการสูญเสียรายได้ที่ควรจะเก็บได้ในประเทศของเรา วิกฤตเศรษฐกิจแฮมเบอร์เกอร์ ไปให้ประเทศที่เข้ามาลงทุน เพราะฉะนั้นเรื่องของตลาดแรงงานจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ ส่วนในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ เป็นเรื่องที่ไอเอ็มเอฟ หรือแม้กระทั่งการประชุมรัฐมนตรีคลังเอเปคให้ความสนใจ เราเองไม่ได้ตามหลังใครเลย เพราะนโยบายบีซีจีของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีมาก่อน ที่จะเกิดการประชุม ส่วนเรื่องเทคโนโลยีต้องเปลี่ยน เพราะเทคโนโลยีไปไกลมากโดยเฉพาะการทำธุรกรรมโดยปี 2566 ภาคเอกชนจะขอออกใบอนุญาตก่อสร้างเป็นอิเล็กทรอนิกส์ ทางกระทรวงการคลังจะออกลายเซ็นใบอนุญาตต่างๆ เป็นอิเล็กทรอนิกส์ให้ได้ภายในสิ้นปีนี้ และจะมีเรื่องการออกใบอนุญาตอื่นๆ ตามมาเรื่อยๆ ต่อไป ทั้งนี้ ไม่ได้บอกว่าสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ เพราะฉะนั้น แรงส่งของเราต้องเกิดจากความร่วมมือของภาคเอกชน เรื่องของการเร่งรัดการลงทุนในประเทศ ลดต้นทุนโลจิสติกส์ และการใช้วิกฤตให้เป็นโอกาส โดยเฉพาะเรื่องฟู้ดซีเคียวริตี้ ปีนี้อาจมีน้ำท่วมบางพื้นที่และมีบางจังหวัดได้รับอานิสงส์จากน้ำที่เพียงพอ เชื่อว่าการประสานนโยบายการเงินการคลังจะมีการสอดประสานกัน บทบาททางด้านการเงินมีมากขึ้น ส่วนบทบาทด้านการคลังก็จะเข้าสู่ความยั่งยืน โดยลดขนาดของการขาดดุลลงไป ซึ่งเป็นสัญญาณที่เราจะส่งไปในอนาคต วิกฤตการเงิน

 

 

เครดิต  matichon.co.th

 

ข่าวแนะนำ